|
เกณฑ์กติกา การประกวด แข่งขัน ทักษะวิชาการงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ประจำปี 2565 การแข่งขันทักษะงานวัดละเอียด ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) |
1. วัตถุประสงค์ของการแข่งขัน 1.1 เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะงานวัดละเอียด ให้แก่นักเรียน นักศึกษา 1.2 เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้จากการศึกษามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการ ปฏิบัติงานจริง 1.3 เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้รับประสบการณ์นอกเหนือจากการศึกษาในห้องเรียน 1.4 เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานของสถานศึกษาในสังกัดองค์ปกครองท้องถิ่น ระดับอาชีวศึกษา 1.5 เพื่อยกระดับทักษะฝีมืองานอาชีพในประชาคมอาเซียนและมาตรฐานสากล
2. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมแข่งขัน
2.2 เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ระบบทวิศึกษา) หรือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น 2.3.สถานศึกษามีสิทธิ์ส่งนักเรียนเข้าแข่งขันไม่เกิน 2 ทีม
3. รายละเอียดของการแข่งขัน 3.1 การแข่งขันแบ่งเป็นภาคทฤษฎี 30 คะแนน และภาคปฏิบัติ 70 คะแนน รวมคะแนนทั้งหมด 100 คะแนน 3.2 ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าร่วมแข่งเข้าแข่งขันหลังมีการแข่งขันผ่านไปแล้ว 30 นาที 3.3 ผู้เข้าร่วมแข่งขันที่ลงทะเบียนแล้วจะต้องอยู่ร่วมแข่งขันจนแล้วเสร็จและไม่อนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เข้าร่วมแข่งขัน 3.4. ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์อื่นใดนอกจากที่กำหนด และเครื่องคำนวณใดๆ ในระหว่างการแข่งขัน 3.5 การควบคุมเวลาการแข่งขัน คณะกรรมการดำเนินการแข่งขันเป็นผู้กำหนด
4. เกณฑ์การให้คะแนน 100 คะแนน พิจารณาจาก 4.1 ภาคทฤษฎี (30 คะแนน) - ข้อสอบมีเนื้อหาตามโครงสร้างหลักสูตรรายวิชาวัดละเอียด ระดับ ปวช. - เวลาทำข้อสอบ 30 นาที ไม่อนุญาตให้ออกจากข้อสอบก่อนหมดเวลา - ไม่อนุญาตให้นำเครื่องมือสื่อสาร เครื่องคำนวณ เข้าห้องสอบ - การดำเนินการสอบให้คณะกรรมการดำเนินการกำหนด |
|
|
เกณฑ์กติกา การประกวด แข่งขัน ทักษะวิชาการงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ประจำปี 2565 การแข่งขันทักษะงานวัดละเอียด ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) |
4.2 สอบภาคปฏิบัติ (70 คะแนน) (1) โดยใช้เครื่องมือประกอบการแข่งขัน ดังนี้ - Vernier caliper พิสัย 0.150 มิลลิเมตร / ค่าความละเอียด 0.02 มิลลิเมตร - Micrometer พิสัย 0.25 มิลลิเมตร / ค่าความละเอียด 0.01 มิลลิเมตร - Micrometer พิสัย 25-50 มิลลิเมตร / ค่าความละเอียด 0.01 มิลลิเมตร - ชิ้นงานที่ใช้ในการแข่งขันใช้จากส่วนกลางเท่านั้น - อุปกรณ์ทำความสะอาดเครื่องมือ เช่น กระดาษทำความสะอาด แอลกอฮอล์ อุปกรณ์เป่าลมถุงมือผ้า (ให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันนำมาเอง) (2) ให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันทำการวัดชิ้นงานตามแบบงานและบันทึกผลการวัดให้ตรงกับลำดับเลขชิ้นงาน (3) ข้อสอบที่ส่งแล้วไม่สามารถนำกลับมาแก้ไขได้ (4) เมื่อผู้แข่งขันส่งข้อสอบพร้อมลงเวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบต่อหน้ากรรมการควบคุมการแข่งขัน (5) ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องเขียนชื่อ นามสกุล ชื่อสถานศึกษา และหมายเลขชิ้นงานของตนเองในกระดาษคำตอบให้ครบถ้วน ชัดเจน หากพบว่ากระดาษคำตอบไม่ระบุรายละเอียดดังกล่าวจะไม่ได้รับการตรวจคำตอบ (6) การเขียนคำตอบให้เขียนลงในช่องว่างที่กำหนดให้ใช้ปากกาสีน้ำเงินหรือสีดำเท่านั้น หากต้องการเปลี่ยนคำตอบให้ขีดทับคำตอบเดิม ลงลายมือชื่อกำกับ พร้อมเขียนคำตอบใหม่ไว้ข้างๆ ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิดหรือยางลบ (ไม่ตรวจคำตอบที่มีร่องรอยการลบหรือใช้ดินสอหรือปากกาสีอื่นนอกจากที่ กำหนด) (7) การตรวจเช็คข้อสอบชิ้นงานและเครื่องมือวัดให้ใช้เวลาในการตรวจเช็ค 10 นาที ก่อนการแข่งขันหากพบปัญหาข้อสอบเครื่องมือวัด อุปกรณ์ หรือชิ้นงานวัด ให้แจ้งกรรมการควบคุมการแข่งขัน (8) เมื่อเริ่มแข่งขันไม่อนุญาตให้เปลี่ยนข้อสอบ ชิ้นงานหรือเครื่องมือวัดใดๆ ทั้งสิ้น (9) กรรมการควบคุมการแข่งขันสามารถพิจารณาตัดคะแนนผู้เข้าร่วมแข่งขันได้ในกรณีพบว่าผู้เข้าร่วมแข่งขันใช้เครื่องมือด้วยความประมาทและเกิดความเสียหายโดยพิจารณาการตัดคะแนนตามดุลพินิจของกรรมการ (10) ห้ามนำข้อสอบชิ้นงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ใดๆ ออกจากห้องสอบ (11) หากมีข้อสงสัยให้มีการยกมือถามกรรมการผู้ควบคุมการแข่งขัน
5.เวลาในการแข่งขัน
สอบภาคทฤษฎี จำนวน 3 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติ 2.30 ชม.
|
|
|
เกณฑ์กติกา การประกวด แข่งขัน ทักษะวิชาการงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ประจำปี 2565 การแข่งขันทักษะงานวัดละเอียด ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) |
6. เกณฑ์การตัดสินหรือการให้คะแนน (1) การให้คะแนนสอบภาคปฏิบัติ ข้อสอบจะกำหนดค่าพิกัดเผื่อของตำแหน่งการให้คะแนนจะขึ้นกับความแตกต่างระหว่างผลการวัดที่ได้กับค่าจริง โดยมีผลรวมคะแนนอยู่ที่ 70 คะแนน - ผลการวัดอยู่ห่างค่าจริงในช่วง 0 – 40 % ของพิกัดความเผื่อได้ 5 คะแนน - ผลการวัดอยู่ห่างค่าจริงในช่วง 41 – 70 % ของพิกัดความเผื่อได้ 3 คะแนน - ผลการวัดอยู่ห่างค่าจริงในช่วง 71 – 100 % ของพิกัดความเผื่อได้ 1 คะแนน - ผลการวัดอยู่ห่างค่าจริงเกิน 100 % ของพิกัดความเผื่อได้ ไม่มีคะแนน (2) นำคะแนนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมารวมกัน แล้วจัดเรียงลำดับผลการแข่งขัน (3) กรณีที่ได้คะแนนเท่ากันให้ทีมที่มีคะแนนปฏิบัติสูงกว่าชนะ (4) กรณีคะแนนข้อ (3) เท่ากัน ให้ทีมที่ใช้เวลาในการแข่งขันภาคทฤษฎีและปฏิบัติรวมกันน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ
7. เกณฑ์การพิจารณาเหรียญรางวัล 1) คะแนน 90 ขึ้นไป ระดับเหรียญทอง 2) คะแนน 80 - 89 ระดับเหรียญเงิน 3) คะแนน 70 - 79 ระดับเหรียญทองแดง
8. เกณฑ์การพิจารณารางวัล 1) รางวัลชนะเลิศ ได้คะแนนสูงสุด 2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้คะแนนรองจากรางวัลชนะเลิศ 3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้คะแนนรองจากรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 4) รางวัลชมเชย ได้คะแนนรองจากรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2
9. รางวัลที่ได้รับ 1) รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร 2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร 3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร 4) รางวัลชมเชย เกียรติบัตร
|