ประวัติจังหวัดนครศรีธรรมราช

ที่มาจังหวัดนครศรีธรรมราช

ซึ่งจากประวัติศาสตร์อันยาวนานนี้เอง ทำให้ นครศรีธรรมราช ปรากฏชื่อในที่ต่างๆ มากมายหลายชื่อตามแต่ละท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา อีกทั้งแต่ละสําเนียงของภาษาและระยะเวลาที่ต่างกันไปในช่วงยุคสมัยต่างๆ ด้วย ทั้ง ตามพลิงคม ตามพรลิงค์ มัทธาลิงคม ตามพลิงเกศวร โฮลิง โพลิง เชียะโท้ว โลแค็ก สิริธรรมนคร ศรีธรรมราช ลิกอร์ ละคอน คิวตูตอน สุวรรณปุระ ปาฏลีบุตร (Pataliputra) และ เมืองนคร เป็นต้น

ส่วนคำว่า นครศรีธรรมราช นั้น ก็มาจากคำสร้อยของพระนามของปฐมกษัตริย์ ผู้ครอง นครศรีธรรมราช คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช โดยมีความหมายว่า "นครอันงานสง่าแห่ง พระราชาผู้ทรงธรรม" และธรรมของราชาแห่งนครนี้ ก็คือ ธรรมแห่ง พระพุทธศาสนา และหลักฐานที่มีการพบนั้น ก็มีตั้งแต่เครื่องหิน ที่มีตัวขวานยาวใหญ่ บางคนจะเรียกว่าระนาดหิน ที่อําเภอท่าศาลา อยู่ในยุคของโลหะ รวมไปถึงหลักฐานทางโบราณคดี คือ กลองมโหระทึกสําริด 2 ใบ ที่บ้านเกตุ กาย ตําบลท่าเรือ อําเภอเมือง และที่คลองคุดด้วน อําเภอฉวาง     รวมถึงในบริเวณพื้นที่ของอําเภอสิชลในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีร่องรอยโบราณสถานและโบราณวัตถุ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดใน นครศรีธรรมราช อีกด้วย ทั้ง พระพุทธรูปสําริด ศิลปแบบอมราวดีของอินเดีย และเศียรพระพุทธรูปศิลปแบบคุปตะอินเดีย เป็นต้น โดยแสดงให้เห็นว่านครศรีธรรมราชนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดียอย่างมาก ทั้ง ด้านศาสนา ความเชื่อ อักษร ภาษา ประเพณี และการปกครอง จนกลายมาเป็นพื้นฐานวัฒนธรรม ของนครศรีธรรมราชมาถึงในปัจจุบันนั่นเอง

ยุครุ่งเรือง และ จุดเริ่มต้นของ เมืองสิบสองนักษัตร

โดยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-19 นั้นจะเป็นช่วงที่นครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดเลยก็ว่าได้ เพราะจากการเป็นสถานีการค้าสําคัญของคาบสมุทรไทยนั่นเอง รวมถึงพุทธศาสนาที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เลยเป็นสิ่งหนึ่งที่ชักนําผู้คนมาตั้งถิ่นฐานในนครศรีธรรมราชนี้ค่ะ ซึ่งการจัดการการปกครองนั้น จะแบ่งเป็นหัวเมืองอยู่รายรอบ มากถึง 12 เมือง เรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร คือ

เมืองสายบุรี ตราหนู       เมืองปัตตานี ตราวัว      เมืองกลันตัน ตราเสือ          เมืองปาหัง ตรากระต่าย         เมืองไทรบุรี ตรางูใหญ่     เมืองพัทลุง ตรางูเล็ก     

เมืองตรัง ตราม้า           เมืองชุมพร ตราแพะ      เมืองปันทายสมอ(กระบี่) ตราลิง       เมืองสระอุเลา (สงขลา) ตราไก่         เมืองตะกั่วป่า ถลาง ตราหมา     เมืองกระบุรี ตราหมู

นครศรีธรรมราช ใน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์   จนมาถึงในช่วงการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีนั้น ได้มีการแต่งตั้งอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยของพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ขึ้นเป็น เจ้าพระยานครศรีธรรมราช จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 2 มีการแต่งตั้ง พระบริรักษ์ ภูเบศรผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ที่คนทั่วไปรู้จักกันในนามของ เจ้าพระยานครน้อย    และในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการเปลี่ยนแปลง การบริหาร ราชการแผ่นดินด้านการปกครองหัวเมืองนั้น เลยโปรดฯ ให้มีการแต่งตั้ง ตําแหน่งอุปราชปักษ์ใต้ขึ้น เพื่อปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้งหมด และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรี ราเมศวร์ดํารงตําแหน่ง อุปราชปักษ์ใต้ ค่ะ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงได้ยุบมณฑล นครศรีธรรมราช ลง และกลายมาเป็นจังหวัดหนึ่งของราชอาณาจักรไทย จนถึงในปัจจุบันนั่นเอง

ตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

 
 


ตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช จะเป็นรูปพระบรมธาตุเจดีย์มีรูปสัตว์ตามปีนักษัตรล้อมรอบ ซึ่งหมายถึง เมือง 12 นักษัตร จากตํานานของเมืองนครศรีธรรมราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 นั่นเอง โดยจะมีทั้งหมด 12 เมืองด้วยกัน

คำขวัญประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

“เราชาวนครฯ อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะ ศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะ พากเพียร ไม่เบียดเบียน ทำอันตรายผู้ใด”